• หน้าแรก
  • หนังสือพิมพ์
  • ทั่วไป
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ
  • ไลฟ์สไตล์-บันเทิง
  • ภาคใต้
    • กระบี่
    • ชุมพร
    • ตรัง
    • นครศรีธรรมราช
    • นราธิวาส
    • ปัตตานี
    • พังงา
    • พัทลุง
    • ภูเก็ต
    • ยะลา
    • ระนอง
    • สงขลา
    • สตูล
    • สุราษฎร์ธานี
  • ต่างประเทศ
    • คนใต้ต่างแดน
    • ทั่วไป
  • ภาพข่าวสังคม
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

เกษตรกรเลี้ยงหมู เสนอรัฐนำเข้าส่วนขาดข้าวโพด กากถั่วเหลือง แทนนำเข้าหมู แก้ปัญหาเกินดุลสหรัฐฯ

หมวดหมู่ : เศรษฐกิจ, ภาพข่าวสังคม, ทั่วไป, กรุงเทพฯ,

โฟสเมื่อ : 8 เม.ย. 2568, 14:56 น. อ่าน : 138
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
เกษตรกรเลี้ยงหมู เสนอรัฐนำเข้าส่วนขาดข้าวโพด กากถั่วเหลือง แทนนำเข้าหมู แก้ปัญหาเกินดุลสหรัฐฯ

               กรุงเทพฯ - เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ทำเนียบรัฐบาล สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ พร้อมตัวแทนผู้เลี้ยงรวมตัวยื่นหนังสือถึงนายกฯ และ 3 รัฐมนตรี แก้ปัญหาการกดดันทางการค้าจากสหรัฐฯ แนะหันนำเข้าข้าวโพด กากถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ในระดับตัวเลขที่มีนัยยะสำคัญ หวังสหรัฐฯ ผ่อนคลายภาษีนำเข้าต่างตอบแทนกลับมาในอัตราระดับเดิม ช่วยทุกกลุ่มไม่เสียหาย

     นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า วันนี้ผู้เลี้ยงมารวมตัวเพื่อให้รัฐบาลทำงานง่ายขึ้น ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลของสหรัฐฯ หวังลดการขาดดุลทางการค้ากับนานาประเทศ เพียงประเทศไทยหันมาซื้อสินค้าสหรัฐฯ มากขึ้น มาตรการทางภาษีศุลกากร ก็น่าจะปรับมาในอัตราปกติได้ ขณะที่กลุ่มการเลี้ยงสุกรและปศุสัตว์ไทยเติบโตเร็วจนผลิตพืชอาหารสัตว์ในประเทศตามไม่ทัน ดังนั้น ถ้าเปลี่ยนแหล่งกำเนิดพืชอาหารสัตว์มาซื้อจากสหรัฐฯ มากขึ้น ก็จะช่วยให้การเจรจาของรัฐบาลไทยง่ายยิ่งขึ้

     สมาคมฯ ได้ศึกษาข้อกฎหมายในการประกาศดังกล่าว ที่เป็นการเร่งแก้ปัญหาการขาดดุลทางการค้าของประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งข้อเสนอในการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และ DDGS เพิ่มในลักษณะเปลี่ยนถิ่นกำเนิดของการนำเข้าเป็นสหรัฐอเมริกา จะสามารถเพิ่มมูลค่าทางการค้าให้กับสหรัฐฯ ในการส่งสินค้ามายังประเทศไทยได้สูงถึง 84,000 ล้านบาท หรือ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ตามข้อเสนอของสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ ฉบับลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568

     นายสิทธิพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่สร้างผลกระทบให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดๆ ในประเทศ โดยประเภทสินค้าที่สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้นำเสนอจะไม่เป็นการสร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืช เพราะเป็นการนำเข้าในจำนวนที่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศเท่านั้น

     การยื่นข้อเสนอของสมาคมฯ มีแนวทางแก้ปัญหาการเกินดุลกับสหรัฐฯ โดยขอให้รัฐบาลละเว้นการพิจารณาที่จะนำเข้าสินค้าสุกร ทั้งเนื้อสุกรและเครื่องในเข้ามายังประเทศไทย ที่จะสร้างปัญหาให้กับผู้เลี้ยงสุกรของไทย หลังจากเผชิญปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)  ในช่วงปี 2563-2565 และปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าสุกร อย่างมากในช่วงปี 2564 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็น 2 วิกฤตการณ์ที่รุนแรงที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมสุกรไทย

     “สินค้าสุกรของประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมอาหารโปรตีนหลักของประเทศ ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ตั้งแต่รองรับพืชผลทางการเกษตรวัตถุดิบอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์สุกร และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างมากมาย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งระบบกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี” นายสิทธิพันธ์ ให้ข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐบาลปิดท้าย.

 

 

ไทยแหลมทอง

อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :



Top Products

  • Managed Website
  • Manage Reputation
  • Power Tools
  • Marketing Service

Quick Links

  • Jobs
  • Brand Assets
  • Investor Relations
  • Terms of Service

Features

  • Jobs
  • Brand Assets
  • Investor Relations
  • Terms of Service

Resources

  • Guides
  • Research
  • Experts
  • Agencies

Instragram Feed

Copyright © All rights reserved | This template is made with by Colorlib